LEED มาตรฐานอาคารสีเขียวแห่งความยั่งยืน ระดับโลก
ในปัจจุบันนี้ การปกป้องสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญมาก ในหลายประเทศทั่วโลกตระหนักเล็งเห็นความสำคัญในการลงทุนด้านนี้มากขึ้น ถือเป็นภาระกิจเร่งด่วนที่สุด ของนานาประเทศ นอกจากการประหยัดพลังงาน การผลักดันให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการก่อก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของโลกร้อน วิถีชีวิตชุมชนโดยรอบดีขึ้น สิ่งก่อสร้างหรืออาคารยังได้รับใบรับรองความยั่งยืนด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากองค์กรต่าง ๆ เช่น LEED Verified
มาทำความรู้จัก LEED กันเถอะ
หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับ อาคารสีเขียว หรือ Green Building ซึ่ง LEED และ WELL เป็นมาตรฐานชี้วัดว่า อาคารสีเขียวเหล่านั้น มีความยั่งยืนด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่
WELL และ LEED แตกต่างกันอย่างไร?
WELL Building Standard เน้นควบคุมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยภายในโครงการหรืออาคาร แบบ Looking Inside
LEED มีขนาดการควบคุมที่ใหญ่กว่าและกว้างกว่า WELL
LEED ไม่ได้เน้นแค่คุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยภายในโครงการหรือตัวอาคาร แต่ยังควบคุมไปถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบอีกด้วย หรือ Looking Outside
วันนี้ K.S. WOOD จะพาทุกท่านมารู้จัก LEED Standard
LEED ย่อมาจาก Leadership in Energy and Environmental Design เป็นการออกแบบอาคารโดยคำนึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ยกระดับคุณภาพชีวิตและใส่ใจสุขภาพของผู้ใช้อาคารกันอย่างจริงจัง
ระบบการประเมิน LEED
LEED มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้ได้กับอาคารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักส่วนตัว มหาวิทยาลัย โรงแรม หรืออาคารสำนักงา
หมวดอาคารต่าง ๆ ในระบบ LEED
BD + C: การออกแบบและก่อสร้างอาคาร: การก่อสร้างและปรับปรุงใหม่
อาคารใหม่ หรืออาคารเก่าที่มีการปรับปรุงมากกว่า 40-60% ของตัวอาคาร มีระบบที่ดีกว่าเดิม นับว่าเป็นอาคารใหม่
ID + C: การออกแบบภายในและก่อสร้าง
การออกแบบภายในอาคารที่เป็นไปตามการลดพลังงานต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นร้านค้าในห้างสรรพสินค้า (หากเป็นตัวห้างสรรพสินค้าจะอยู่ในหมวด BD+C)
O + M: อาคารที่มีอยู่และการบำรุงรักษา
อาคารเก่า มีการปรับปรุงอาคารและระบบให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น และสิ่งที่รื้อถอนออกมานั้น มีการกำจัดที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
ND: การพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียง
เป็นการประเมินเมืองหรือหมู่บ้าน แคมปัส มหาวิทยาลัย และชุมชนขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร เท็กซัส เป็นต้น ในไทยยังไม่เคยได้รับการประเมินในหมวดนี้
Homes: ที่อยู่อาศัย
เป็นการประเมินอาคารที่พักอาศัยไม่เกิน 3 ชั้น โดยจะมีบุคลที่สาม จากทาง LEED มาประเมินหน้างานจริง แตกต่างจากสามหมวดแรกที่สามารถตรวจสอบ รายงานเป็นเอกสาร ส่งออนไลน์ไปให้กับทางองค์กร LEED ได้ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่เคยได้รับการประเมินในหมวดนี้
LEED Scores
LEED ส่งเสริมการออกแบบอาคารอย่างยั่งยืนโดยตระหนักถึงประสิทธิภาพของอาคารในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- กระบวนการเชิงบูรณาการ Integrative Process
- พื้นที่ยั่งยืน Sustainable Sites
- สถานที่และการขนส่ง Location and Transportation
- ประสิทธิภาพของการใช้น้ำ Water Efficiency
- พลังงานและชั้นบรรยากาศ Energy and Atmosphere
- คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร Indoor Environmental Quality
- นวัตกรรมในการออกแบบ Innovation in Design
ดังนั้น LEED Scores ประเมินอย่างไรบ้าง
LEED คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 110 คะแนน แบ่งการประเมินตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนั้น
1. การใช้ประโยชน์จากสถานที่ตั้งอย่างยั่งยืน (Sustainable Sites: SS) สูงสุด 10 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
การสร้างผลกระทบต่อที่ตั้งอาคารต่ำ เพิ่มพื้นที่เปิดโล่งสีเขียว ลดการเกิดน้ำท่วมล้น ลดปรากฎการณ์เมืองร้อน และลดการก่อมลภาวะทางแสง
ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา การปล่อยของเสียจากไซต์งานสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นฝุ่น ผง สารเคมี
การประเมินที่ตั้งโครงการ ดิน การอนุรักษ์ สัตว์หรือพืชที่อาศัยบริเวณนั้น
การประเมิน ก่อนและหลังการก่อสร้างอาคาร ว่าผลมีต่อสัตว์ พืช ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นอย่างไรบ้าง รวมถึงการปลูกต้นไม้ ดอกไม้ เพื่อรักษาระบบนิเวศตามข้อกำหนดต่าง ๆ
การมีพื้นที่ว่าง การทำพื้นที่สีเขียว
การกักเก็บน้ำฝนภายในพื้นที่ เช่น การชะลอไม่ให้น้ำท่วมทะลักออกจากพื้นที่ตามระยะเวลาที่กำหนด มักสร้างบ่อน้ำ บึง (บ่อหรือสระคอนกรีตจะไม่ได้รับคะแนน)
การลดปรากฏการณ์ความร้อนต่าง ๆ เช่น การเลือกใช้วัสดุสีอ่อน คอนกรีตสีขาว การทำหลังคา แผงโซล่าร์เซลล์
สามารถจอดรถใต้อาคารได้ทั้งหมด และการลดมลพิษแสงต่าง ๆ
2. ที่ตั้ง และการคมนาคมขนส่ง (Location and Transportation) สูงสุด 16 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
ลดการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทาง การบริหารจัดการที่จอดรถอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ตั้ง ผังเมือง การปรับสภาพพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้งานให้สามารถใช้งานได้
ที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ที่เป็นคอมมูนิตี้ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ซื้อของ ออกกำลังกาย ไปธนาคาร โดยใช้การคมนาคมน้อยที่สุด
3. การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency : WE) สูงสุด 11 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
ลดปริมาณความต้องการน้ำสะอาดให้น้อยที่สุดไปใช้ในงานดูแลสวน น้ำใช้ในห้องน้ำ และโถปัสสาวะ ตลอดจนลดปริมาณการใช้ในน้ำในอาคารโดยรวม
การปลูกต้นไม้หรือพืชที่ลดการรดน้ำ หรือไม่ต้องรดน้ำเลย
4. พลังงาน และบรรยากาศ (Energy and Atmosphere : EA) สูงสุด 33 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
ลดปริมาณการใช้พลังงาน สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทน จัดทำระบบที่สามารถวัดการใช้พลังงาน
ไม่ใช้สารทำความเย็นที่มี CFC เพื่อลดการทำลายชั้นโอโซน รวมไปถึงการจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองว่าผลิตจากพลังงานทดแทน
5. วัสดุ และทรัพยากร (Material and Resources : MR) สูงสุด 13 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
เลือกใช้วัสดุและทรัพยาการในการก่อสร้าง มีการเตรียมพื้นที่คัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล การนำอาคารหรือองค์ประกอบของอาคารมาใช้ใหม่
การลดขยะจากการก่อสร้าง การใช้วัสดุรีไซเคิล การใช้วัสดุพื้นถิ่น การใช้วัสดุปลูกทดแทนได้เร็ว และ การใช้ไม้ที่ผ่านการรับรองว่ามาจากป่าทดแทนที่มีการรับรอง เช่น EPD Certificate
6. คุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality : IEQ) สูงสุด 16 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
ควบคุมสภาวะอากาศภายในอาคารเพื่อสภาวะอยู่สบายและสุขภาพที่ดีของผู้ใช้อาคาร โดยพิจารณาในเรื่องการระบายอากาศ
การดำเนินการจัดการกับมลภาวะทางอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในระหว่างการก่อสร้างและระหว่างการใช้งานอาคาร
การเลือกใช้วัสดุที่มีสารระเหยที่เป็นพิษต่ำ การส่งเสริมสภาวะอยู่สบายที่ผู้ใช้อาคารสามารถควบคุมได้เอง
การใช้แสงธรรมชาติและการออกแบบอาคารให้มองเห็นบรรยากาศภายนอก รวมถึงการป้องกันการเกิดเชื้อราที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
7. Innovation Design (นวัตกรรมในการออกแบบ: ID) สูงสุด 6 คะแนน
ในหมวดนี้ จะประเมิน
นำวิธีการหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกำหนดในมาตรฐานมาใช้ รวมถึงการทำได้มากกว่าที่เกณฑ์กำหนด
การแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในหมวดนี้ จะประเมิน
เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมบางอย่างอาจจะเป็นเรื่องเฉพาะถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้โครงการก่อสร้างตระหนัก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ
เกณฑ์การรับ LEED Verified
- Certified: 40-49 points
- Silver: 50-59 points
- Gold: 60-79 points
- Platinum: 80+ points
รายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ดังนั้น หากท่านใดสนใจอยากทำคะแนนในส่วนไหน สามารถศึกษาเพิ่มเติม ออกแบบ และบริหาร ให้ตรงตามเกณฑ์ข้อกำหนด เพียงเท่านี้ ก็สามารถทำคะแนนได้แล้ว
Reference:
- LEED & WELL
https://www.thelightingpractice.com/lighting-the-way-for-leed-well-certification/
- LEED DEVELOPMENT MANAGEMENT GROUP
https://www.dmg-thailand.com/leed-green-building-certification-thailand/
- LEED, WELL and Green Building
https://www.youtube.com/channel/UCoEPG0g8Xaxy2i9JQb2-L2A/videos
- LEED Green Associate Study Guide
https://leadinggreen.com/wp-content/uploads/2013/12/LeadingGreen-LEED-GA-Study-Guide-v4-ed.pdf
- LEED V4.1 Update Seminar
- LEED NEWS
https://www.jorakay.co.th/blog/professional/others/leedv4-standard