ไม้ลามิเนต Vs ไม้เอ็นจิเนียร์
หลายๆ คนอาจเกิดความสงสัย เวลาที่ต้องการจะค้นหาข้อมูลการแต่งบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ในส่วนของพื้นบ้าน ซึ่งแต่ละคนก็คงรับข้อมูลพื้นมาหลายแบบ แต่เคยสงสัยกันมั้ยครับ ว่าวัสดุปูที่ใช้ปูพื้น อย่าง “ไม้ลามิเนต” กับ “ไม้เอ็นจิเนียร์” ที่ดูผ่านๆ รูปลักษณ์ภายนอกก็ไม่ทราบว่ามันต่างกันอย่างไรนั้น แท้จริงแล้ว อะไรคือจุดที่ต่างกันไปสำหรับไม้พื้น 2 ชนิดนี้
วันนี้ K.S. Wood ก็มีบทความดีๆ มาประกอบการตัดสินใจ มาดูกันนะครับว่า “ไม้ลามิเนต” กับ “ไม้เอ็นจิเนียร์” แตกต่างกันอย่างไร
เริ่มต้นที่ “ไม้ลามิเนต”
คำว่า “ลามิเนต” (Laminate) ในภาษาอังกฤษ หมายถึงสิ่งที่เป็นชั้นๆ ชิ้นบางๆ เป็นคำที่นำมาเรียกกับพื้นไม้ลามิเนต เนื่องจากพื้นไม้ลามิเนตเกิดจากการผลิตด้วยกรรมวิธีบีบอัดไม้ด้วยความแรงสูง จากนั้นจึงรวมเข้าด้วยกันกับชั้นอื่นๆ ร่วมกับความร้อน โดยพื้นไม้ลามิเนต จะประกอบไปด้วยชั้นต่างๆ จำนวน 4 ชั้น ได้แก่
- ชั้นด้านบนสุดของพื้นไม้ลามิเนต (Protective Layer) เป็นชั้นที่ถูกออกแบบเพื่อป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วน
- ชั้นลายไม้ของพื้นไม้ลามิเนต (Pattern Layer) เป็นชั้นที่ถูกออกแบบโดยระบบคอมพิวเตอร์ ปริ๊นลงกระดาษ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักออกแบบ เลียนแบบลายไม้จริง
- ชั้นตรงกลางของไม้พื้นลามิเนต (Substrate Layer) มีการผลิตโดยใช้ไม้เนื้อแข็งมาย่อย จึงทำให้ชั้นนี้มีความหนาแน่นที่สุด จากนั้นนำไปผสมกับสารอื่นๆ อาทิ สารป้องกันความชื้น สารป้องกันปลวกและแมลง จากนั้นทำให้เป็นแผ่นด้วยวิธี High Density Fiberboard ซึ่งทำให้ไม้มีความคล้ายกับไม้ธรรมชาติแต่มีการยืดหดตัวน้อยกว่าไม้จริงมาก
- ชั้นล่างสุดของไม้พื้นลามิเนต (Backing Layer) เป็นแผ่นพลาสติกที่มีคุณสมบัติป้องกันความชื้นและปลวก อีกทั้งยังมีความแข็งแรงกว่าไม้จริงอีกด้วย
ข้อดีของไม้ลามิเนต
- ติดตั้งง่าย ด้วยระบบคลิกล็อค ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน
- ไม่เกิดเชื้อราแบคทีเรีย และเชื้อโรค
- ผิวหน้าไม้ลามิเนตทนต่อแสงแดด ทนต่อรอยขีดข่วนและขี้เถ้าบุหรี่
- ราคาถูก มีให้เลือกหลากหลาย
ข้อเสียของไม้ลามิเนต
- ทนความชื้นได้ไม่ดีมากนัก กรณีเกิดอุบัติเหตุน้ำหกก็ต้องรีบเช็ดออกโดยทันที
- ติดตั้งได้บนพื้นที่เรียบได้ระดับเท่านั้น หากพื้นที่ไม่เรียบเมื่อติดตั้งจะเป็นเสียงดังขณะเดิน
- ไม่สามารถขัดสีออก เพื่อทำสีใหม่ได้
ต่อมา “ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์”
Engineered Wood Flooring หรือ “พื้นไม้เอ็นจิเนียร์” เป็นไม้ที่ถูกนำมาแปรรูปด้วยเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ทำให้มีความคงทน พื้นไม้ Engineer Wood ปลอดภัยจากปลวกหรือแมลงอื่น (กรณีมีการเคลือบ/อบน้ำยา) และยังให้ความสวยงามอีกด้วย ที่สำคัญไม้ที่นำมาผลิตนั้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นไม้จาก “ป่าปลูก” โดยพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะประกอบไปด้วยชั้นหลัก อยู่ 3 ชั้นได้แก่
- ชั้นบนเป็นผิวหน้าไม้ โดยฝานมาจากไม้ซุง มีความหนาระหว่าง 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นไม้จริง อาทิ ไม้โอ๊คธรรมชาติ, ไม้มะค่า, ไม้สัก, ไม้เมเปิ้ล เป็นต้น
- ไม้ชั้นกลาง เป็นไม้ยูคาลิปตัสฝานเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาซ้อนทับกัน เป็นชั้นๆ ซึ่งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ของ เค.เอส. วู้ด จะวางแบบสลับกันไปมาในแต่ละชั้น ประมาณ 7-9 ชั้น เพื่อลดการขยายตัวของพื้นไม้ แล้วปิดด้านบนด้วยหน้าไม้จริง
- ไม้ชั้นล่างสุด สำหรับสร้างสมดุล และความแข็งแรงให้กับพื้นไม้ โดยปกติจะปิดทับด้วยไม้อัดเนื้อแข็งกว่าไม้ชั้นกลาง สำหรับพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ของ เค.เอส. วู้ด จะเป็นไม้บีชเนื้อแข็งเต็มแผ่น ปิดผิวด้านหลัง พร้อมพ่น Oil paint เพื่อป้องกันความชื้น ขึ้นไป Core Board (ส่วนไม้ชั้นกลาง)
ข้อดีของไม้พื้น Engineer Wood มีอะไรบ้าง?
- ติดตั้งได้รวดเร็ว ไม่เสียเวลามาก
- มีความแข็งแรง และคงทนสูง ยืดหดตัวน้อยมาก ทนความชื้นได้ดีกว่าไม้ลามิเนต
- ปัจจุบันมีสีให้เลือกหลากหลาย
ข้อเสียของไม้พื้น Engineering Wood
- มีราคาที่สูงกว่าไม้ลามิเนต
- ติดตั้งได้บนพื้นที่เรียบได้ระดับเท่านั้น หากพื้นที่ไม่เรียบเมื่อติดตั้งจะเป็นเสียงดังขณะเดิน
- ทนรอยขีดข่วน แรงกดทับได้น้อยกว่าไม้ลามิเนต
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม >> A La Carte พื้นไม้เอ็นจิเนียร์
สรุปความแตกต่างด้วยปัจจัยการใช้งาน ระหว่างไม้ลามิเนต กับ ไม้เอ็นจิเนียร์
ไม้ลามิเนต เป็นไม้สังเคราะห์ที่มีความนิยม และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพราะมีความทนทาน สวยงาม มีลวดลายให้เลือกหลากหลายสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี แต่ก็มีข้อเสีย คือทนต่อความชื้นได้ไม่ดีเท่าไม้เอ็นจีเนียร์ ซึ่งไม้เอ็นจิเนียร์มีการพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยี จึงทำให้มีคุณสมบัติหลายๆด้านที่เด่น อาทิมีความคงตัวสูง ไม่ยืด ไม่หด แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงนี้ก็มีผลในเรื่องของราคาตามไปด้วย แต่การจ่ายแพงขึ้น ก็คุ้มค่ากับคุณภาพที่ได้มาเพิ่มนั่นเอง
อย่าลืมเลือกวัสดุตามคุณสมบัติ เพื่อการใช้งานที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้านก่อนตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้บ้านของคุณนะครับ #KsWood #สัมผัสธรรมชาติได้ในบ้านคุณ
ติดตามบทความเกี่ยวกับการ >> ทำความสะอาดพื้นไม้