Q3_Lath Facade (5)

ไม้เอ็นจิเนียร์

ไม้เอ็นจิเนียร์คืออะไร?

ความหมายและนิยามของไม้เอ็นจิเนียร์

ไม้เอ็นจิเนียร์คือวัสดุปูพื้นที่ผลิตจากไม้จริงที่คัดสรรเป็นอย่างดี ผ่านกระบวนการผลิตให้มีโครงสร้างหลายชั้น เพื่อช่วยลดปัญหาการยืดหดตัวและเพิ่มความแข็งแรง ให้ความรู้สึกของผิวสัมผัสและความสวยงามเทียบเท่าไม้จริง (Solid Wood) แต่ราคาย่อมเยากว่า แต่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าในหลายด้าน เช่น ความคงทนต่อการยืดหดตัวของไม้ และความสะดวกในการติดตั้ง
ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนาไปไกล เช่น การใช้ไม้เนื้อแข็งปิดผิวด้านหลังพร้อมพ่น Oil Paint ทำให้ป้องกันความชื้นไม่ให้ขึ้นไปถึงชั้น Core Board และยังป้องกันเชื้อราที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย จึงเหมาะสมต่อการใช้งานภายใน พร้อมทั้งสามารถใช้ในสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หรือมีสภาพอากาศที่แห้งหรือชื้นได้เป็นอย่างดี เช่น บ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียม ฯลฯ

ความนิยมของไม้เอ็นจิเนียร์ในปัจจุบัน

  • ถูกเลือกใช้ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับกลางถึงสูง
  • เป็นที่นิยมในงานรีโนเวทบ้านและคอนโด
  • สถาปนิกและนักออกแบบภายในแนะนำให้ใช้เนื่องจากความสวยงามและคุณสมบัติพิเศษ

เหตุผลที่ไม้เอ็นจิเนียร์เป็นที่ต้องการในงานตกแต่ง

  • มีลวดลายไม้ธรรมชาติที่สวยงาม
  • มีความคงทนและอายุการใช้งานยาวนาน
  • ติดตั้งง่ายและรวดเร็วกว่าพื้นไม้จริง ไม่ต้องขัดและทำสี ใช้งานได้ทันที
  • มีตัวเลือก Pattern ที่หลากหลายให้เลือกตามความต้องการของผู้ใช้งาน

Our Products

Why Choose Us ?

  • คุณภาพมาตรฐานระดับสากล
    ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูงและผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เพื่อให้ได้ไม้เทียมที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศทั้งในร่มและกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นฝน แดด หรือความชื้น ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในทุกพื้นที่

  • รักษ์สิ่งแวดล้อม
    ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม้เทียมของเราไม่เพียงแต่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

  • ติดตั้งง่ายและประหยัดเวลา
    ไม้เทียมของ KSwood ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ด้วยระบบล็อคที่มีประสิทธิภาพ ลดเวลาในการติดตั้งและค่าแรง ทำให้ลูกค้าประหยัดทั้งเงินและเวลา

  • การรับประกันที่น่าเชื่อถือ
    มอบความมั่นใจให้ลูกค้าด้วยการรับประกันสินค้าในระยะยาว แสดงถึงความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และช่วยให้ลูกค้ามั่นใจในการเลือกใช้สินค้า

  • บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม
    ไม่เพียงแต่ใส่ใจในคุณภาพสินค้า แต่ยังใส่ใจในบริการหลังการขาย ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว

  • ความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำ
    บริษัทชั้นนำจากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และตกแต่งภายใน ได้เลือกใช้ไม้เทียมของ KSwood ในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะในโครงการที่ต้องการสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าและคู่ค้า

Reference

วิธีการเลือกไม้เอ็นจิเนียร์ให้เหมาะกับบ้านของคุณ

  1. เลือกตามประเภทของพื้นผิว –ไม้เอ็นจิเนียร์มีหลายแบบ ทั้งแบบด้าน กึ่งเงา และเงาสูง ควรเลือกให้เหมาะกับสไตล์การตกแต่งของบ้าน
  2. พิจารณาความหนา – ความหนาของไม้เอ็นจิเนียร์มีผลต่อความทนทาน ควรเลือกความหนาที่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน
  3. เลือกสีและลวดลายที่เข้ากับบรรยากาศของบ้าน – ไม้เอ็นจิเนียร์มีสีและลายไม้ที่หลากหลาย เลือกโทนสีที่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์และผนังของบ้าน
  4. ตรวจสอบคุณภาพของชั้นเคลือบผิว – การเคลือบผิวที่ดีช่วยเพิ่มความทนทานต่อรอยขีดข่วนและการใช้งานในระยะยาว

สถานที่ที่เหมาะกับการใช้ไม้เอ็นจิเนียร์

  • ห้องนั่งเล่น – เพิ่มความอบอุ่นและความหรูหราให้กับพื้นที่ส่วนรวมของบ้าน
  • ห้องนอน – สร้างบรรยากาศที่สบายและผ่อนคลาย
  • โถงทางเดิน – ใช้ไม้เอ็นจิเนียร์ที่มีความทนทานสูงเพื่อลดการสึกหรอจากการเดิน
  • ห้องทำงาน – เพิ่มสไตล์ที่เป็นมืออาชีพและดูหรูหรา

ขั้นตอนการติดตั้งไม้เอ็นจิเนียร์

การเตรียมพื้นผิวก่อนการติดตั้ง

การติดตั้งไม้เอ็นจิเนียร์มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบ ลอยตัว แบบใช้กาว แบบมี Subfloor ซึ่งการติดตั้งแต่ละรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการ รองพื้น ก็ต่างกันไป เช่น โฟม ฟิล์ม ไม้อัด ซีเมนต์บอร์ดโดยทั่วไปขั้นตอนในการติดตั้ง จะมีขั้นตอนที่คล้ายกันดังนี้

วิธีการติดตั้ง

การเตรียมพื้นผิวก่อนการติดตั้ง ให้ทำความสะอาดพื้นก่อนการติดตั้ง
พื้นปูนต้องเรียบ ค่า eror (+/-) ไม่เกิน 3 mm. ค่าความชื้นของพื้นปูนต้องไม่เกิน 14%

  1. ปูแผ่นฟิล์มที่พื้นเพื่อป้องกันความชื้น ตามด้วยปูแผ่นไม้อัดสลับเป็นฟันปลา เพื่อเป็น Subfloor
  2. เริ่มปูไม้แผ่นแรก โดยต้องเว้นระยะขอบระหว่างพื้นกับผนังโดยรอบประมาณ 5-10 มม.
  3. ทากาวลาเท็กลงไปที่หลังไม้ ยิงแม็กลงที่ลิ้นไม้ และท่ากาวที่ลิ้นไม้
  4. ค่อยๆ ติดตั้งไม้เอ็นจิเนียร์ตามแพทเทิร์นไปเรื่อยๆ จนครบ
  5. ติดตั้งบัวตัวจบ เพื่อความสวยงามและเรียบร้อย

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • การปูแบบลอยตัว – เป็นการติดตั้งที่ง่ายและรวดเร็ว เหมาะกับพื้นที่แห้งและเรียบ
  • การปูแบบติดกาว PU – ทำให้พื้นแน่นและมั่นคงแข็งแรงทนทาน
  • การปูแบบรองโฟม – เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการลดเสียง
  • การปูแบบลายก้างปลา – ต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง

การดูแลรักษาไม้เอ็นจิเนียร์

1. การทำความสะอาดพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

  • กวาดพื้นเป็นประจำ: ใช้ไม้กวาดขนอ่อนหรือเครื่องดูดฝุ่นที่ไม่มีหัวแปรงแข็ง เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนบนพื้นผิว
  • ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ: ทำความสะอาดด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ชุบน้ำหมาดๆ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมากเกินไปเพราะอาจทำให้ไม้บวม
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีแรงๆ: ห้ามใช้สารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น น้ำยาฟอกขาว หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น เพราะอาจทำลายชั้นป้องกันของไม้

แนะนำ KSCLEAN MULTIPURPOSE CLEANER น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ที่ทำความสะอาดได้ทุกพื้นผิว

2. การป้องกันรอยขีดข่วนและแรงกระแทก

  • ติดตั้งแผ่นกันรอยใต้เฟอร์นิเจอร์: ควรติดตั้งแผ่นรองใต้ขาโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เพื่อลดแรงเสียดทาน
  • หลีกเลี่ยงการเดินด้วยรองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่มีกรวดติดอยู่: อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย
  • ใช้พรมหรือแผ่นรองพื้น: วางพรมในบริเวณที่มีการเดินผ่านบ่อย เช่น ทางเข้า เพื่อช่วยลดแรงเสียดสี

3. การป้องกันความชื้นและอุณหภูมิ

  • ควรควบคุมระดับความชื้นในห้อง: ไม้เอ็นจิเนียร์ไม่ควรโดนความชื้นสูงเกินไป ควรรักษาระดับความชื้นไว้ที่ประมาณ 40-60%
  • หลีกเลี่ยงการโดนน้ำเป็นเวลานาน: หากมีน้ำหก ควรรีบเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด
  • ป้องกันการโดนแสงแดดโดยตรง: ใช้ผ้าม่านหรือมู่ลี่เพื่อช่วยลดแสงแดดที่ส่องโดยตรงมาที่พื้น ซึ่งอาจทำให้สีของไม้ซีดจางได้

4. การบำรุงรักษาและซ่อมแซมพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

  • เคลือบพื้นใหม่เมื่อจำเป็น: หากพบว่าชั้นป้องกันเริ่มเสื่อม ควรเคลือบแล็กเกอร์หรือโพลียูรีเทนใหม่
  • ซ่อมรอยขีดข่วนเล็กๆ ได้ด้วยดินสอซ่อมไม้: หากเป็นรอยตื้นๆ สามารถใช้ดินสอซ่อมสีไม้แต้มบริเวณที่เป็นรอยได้
  • เปลี่ยนไม้เฉพาะส่วนที่เสียหาย: ในกรณีที่พื้นไม้เอ็นจิเนียร์มีความเสียหายมาก อาจต้องเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่เสียหายแทนการรื้อทั้งพื้น

5. ข้อควรระวังในการดูแลรักษา

  • ห้ามใช้เครื่องไอน้ำในการทำความสะอาด เพราะไอน้ำอาจแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้และทำให้เกิดความเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผงซักฟอกที่มีสารเคมีรุนแรง เพราะอาจทำให้สีของไม้ซีดลง
  • ไม่ควรลากเฟอร์นิเจอร์โดยตรงบนพื้น ควรยกขึ้นเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน

คำถามที่พบบ่อย

วัสดุและการผลิต ที่ต่างกันชัดเจน ไม้เอ็นจิเนียร์ ผลิตจากไม้จริงเต็มแผ่นหลายชั้น โดยชั้นบนสุดเป็นไม้จริงที่เป็นไม้ที่มีมูลค่าสูง
ในชั้นรองลงมาจะเป็นไม้จริงที่เป็นกลุ่มไม้ป่าปลูกที่มีมูลค่าที่น้อยกว่า ในบางแบรนด์อาจรองด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้คอร์ก ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งาน
ไม้ลามิเนตผลิตจากเศษไม้บดอัดผสมกาว แล้วเคลือบด้วยกระดาษลายไม้ที่พิมพ์สี จากนั้นเคลือบผิวหน้าด้วยสารเมลามีนเรซิน ทำให้ความทนทานน้อยกว่าไม้เอ็นจิเนียร์
ไม้ลามิเนตไม่ทนต่อความชื้น หากโดนน้ำเป็นเวลานาน อาจบวมหรือพังได้ แต่ด้วยราคาที่ถูกกว่าไม้เอ็นจิเนียร์อาจเป็นทางเลือกสำหรับงานตกแต่งพื้นที่จำกัดเรื่องงบประมาณ

อายุเฉลี่ยของการใช้งานไม้เอ็นจิเนียร์ จะอยู่ที่ 10-30 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
คุณภาพของไม้เอ็นจิเนียร์ ที่มีคุณภาพสูงและผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
การติดตั้งที่เหมาะสมและถูกต้อง การดูแลรักษา การทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ การป้องกันความชื้น
จัดสภาพแวดล้อมให้มีอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสม ย่อมมีผลต่ออายุการใช้งานของไม้เอ็นจิเนียร์

สามารถขัดได้ แต่จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นไม้จริง (โดยทั่วไป 1-2 ครั้ง)
หากต้องการขัดและทำสีใหม่ ควรตรวจสอบความหนาของผิวไม้ชั้นบนว่ามีความหนาเท่าไหร่ เช่น 3 mm.
และควรปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญด้านการขัดไม้และทำสี ที่มีอุปกรณ์ที่ครบถ้วน
โดยทั่วไป การขัดและทำสีใหม่ไม้เอ็นจิเนียร์อาจไม่คุ้มค่าเท่ากับการเปลี่ยนพื้นใหม่ หากชั้นผิวหน้าไม้บางมาก

โดยทั่วไปแล้ว ไม้เอ็นจิเนียร์ส่วนใหญ่สามารถป้องกันปลวกได้ เนื่องจากในกระบวนการผลิตมีการอัดน้ำยากันปลวกเข้าไปในเนื้อไม้
ทำให้ปลวกไม่สามารถกินเนื้อไม้ได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพและระยะเวลาในการป้องกันปลวกอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ
กระบวนการผลิต คุณภาพและความเข้มข้นของน้ำยา อย่างไรก็ตามไม้เอ็นจิเนียร์เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากไม้จริง การอัดน้ำยาป้องกันปลวก
ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันได้ 100% หากมีปลวกในปริมาณมาก ก็อาจทำให้ไม้เอ็นจิเนียร์เสียหายได้